วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555


             Main System หมายถึงส่วนประกอบหลักของแต่ละฝ่ายงานมีดังต่อไปนี้


                    

           1. ระบบจัดซื้อ    หมายถึง กระบวนการซึ่งทำมาเพื่อให้ได้สินค้าเพื่อขาย หรือวัตถุดิบเืพื่อการผลิต เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำไปขายตามนโยบายต้นทุนสินค้าต่ำสุดเท่าที่จะทำได้

          
2. ระบบเจ้าหนี้และการจ่ายเงิน   หมายถึงกระบวนการทางบัญชี หลังมีการซื้อสินค้าดูแลลูกหนี้ เจ้าหนี้การค้าและเมื่อหนี้ครบกำหนด ส่งรายการหนี้ให้ฝ่ายการเงิน เพื่อดำเินินขั้นตอนต่าง ๆ ทางการเงิน ตั้งแต่การรับวางบิล เตรียมเงินให้เจ้าหนี้ และควบคุมการจ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้อย่างถูกต้อง 



          3. ระบบขาย  หมายถึง กิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการตลาด หลังจากได้รับคำสั่งซื้อการขายทำหน้าที่ส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าให้ได้ กิจกรรมเหล่านี้เริ่มจากการทำใบเสนอราคา (QT) ช่วยฝ่ายการตลาดนำข้อมูลสินค้า ส่งให้ลูกค้าเมื่อรับคำสั่งซื้อสินค้า ติดตามสินค้าว่ามีอยู่หรือไม่ หรืออาจต้องวางแผนจัดเก็บสินค้าสำรองไว้เพื่อขาย ดูแลคุณภาพสินค้า นำขึ้นพาหนะจัดส่ง ติดตามการจัดส่ง จนสินค้าถึงมือลูกค้า และจบลงที่การได้รับเอกสารการซื้อของลูกค้ามาครบถ้วนและนำส่งให้ฝ่ายบัญชี เพื่อเข้าสู่กระบวนการเก็บเงินต่อไป 
                                                    
          4. ระบบลูกหนี้และการเงินรับ  หมายถึง กระบวรการทางบัญชีหลังมีการขายสินค้า ดูแลลูกหนี้ ลูกหนี้การค้าและเมื่อครบกำหนดก็จะส่งรายการหนี้ให้ฝ่ายการเงิน เพื่อดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ ทางการเงิน ตั้งแต่ออกใบวางบิล เตรียมเก็บเงินจากลูกหนี้และติดตามควบคุมการเก็บเิงิน ชำระหนี้จากลูกหนี้อย่างเข้มงวดใกล้ชิดและถูกต้อง
                   
          5. ระบบคลังสินค้า คลังสินค้าเป็นปัญหาใหญ่มากกว่า 90%ของธุรกิจทุกประเภทจะมีัปัญหาเรื่องคลังสินค้า เพราะธุรกิจจะกำไรมากหรือน้อย ขาดทุนหรือไม่ การบริหารคลังสินค้าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ 
           ปัจจุบันมีการนำระบบ Computer มาบริหารคลังสินค้า แต่ส่วนมากยังใช้ได้น้อย ไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบคลังสินค้ามีเงื่อนไขและซับซ้อนในระบบ Computer ในการบริหารระบบคลังสินค้า ต้องคำนึงถึงถึงสิ่งต่อไปนี้
          - จัดทำ location คลังสินค้า
          - ในการรับสินค้าเข้าคลัง
          - มีระบบตรวจสอบสินค้าเข้าคลัง
          - มีระบบตรวจสอบสินค้าเป็นระยะ ๆ 
          - คลังสินค้าที่ใหญ่มากๆ มีสินค้ามาก ๆ ควรจัดสินค้าเป็นส่วน ๆ กลุ่ม ๆ 
          - การใช้ location ในระบบซื้อ ขาย การผลิต จะทำให้ข้อมูลสินค้าคลังแม่นยำขึ้น
           การสร้าง location คือการสร้างแผนที่ สถานที่ จุดตำแหน่งที่เก็บสินค้า เพื่อกำหนดความสัมพันธ์กับข้อมูลในฐานข้อมูลกำหนดเป็นตัวเลข (คล้ายกับบาร์โคด ไม่น้อยกว่า 6 หลัก) เช่น 123456 (12 Degit บอกคลัง,34 Degit บอกสถานที่,56 บอกตำแหน่งที่เก็บสินค้า)


          6. ระบบการเงิน  เป็นอีกระบบนึงซึ่งมีความสำคัญระยะยาวในการดำเนินธุรกิจ เพราะิเงินคือตัวกลางในการแลกเปลี่ยน กระแสการเงินจึงเปรียบเสมือนหัวใจของธุรกิจ บางบริษัทมีทรัพย์สินมากมายแต่กลับมีปัญหาเรื่องการชำระหนี้เพราะทรัพย์สินเกือบทั้งหมดเปลี่ยนเป็นเงินยาก ทำให้มีเม็ดเงินไม่พอในการชำระหนี้ 

          7. ระบบบัญชี  การวางระบบบัญชีมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารธุรกิจแม้แต่ธุรกิจขนาดย่อมอาจมีผู้ประกอบการเพียงคนเดียว แต่การบันทึกข้อมูลทางบัญชี โดยมีระบบบัญชีที่ดีคอยควบคุมดูแลแสดงสถานภาพทางการเิงิน ตลอดจนวิเคราะห์สถานะการดำเนินงานของบริษัทได้เป็นอย่างดี ผลที่ได้รับก็จะถูกต้อง แม่นยำ


          8. ระบบ Computer  


          9. ระบบการผลิตและวางแผนผลิต  เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดสินค้าเพื่อนำเข้าสู่ตลาดซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากมายประกอบด้วยขั้นตอนมากมายและก็ขึ้นอยู่กับสินค้านั้น ๆ ด้วย การวางแผนคือการนำเอาผลผลิตที่ต้องการจากฝ่ายขายมาบริหาร เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า ตามเป้าหมายที่กำหนด คือวันที่ส่งสินค้าให้ลูกค้าตามที่กำหนด 


        10. ระบบต้นทุน  ควรศึกษาข้อมูลระบบต้นทุนให้อย่างถ่องแท้ก่อนตัดสินใจลงทุน


        11. ระบบบริหารองค์กร  
    
        12. ระบบบริหารบุคคล  



               Support System คือ ระบบสนับสนุนการทำงานระบบหลัก ให้ทำงานสอดคล้องต่อเนื่องกันได้ รู้ที่มาที่ไปของการทำงานนั้น ซึ่ง Support System จะประกอบไปด้วย


          - ระบบรายงานและการวิเคราะห์  
          - ระบบลงรายมือชื่อ  
          - ระบบตรายาง
          - ระบบวันที่
          - ระบบทะเบียน
          - ระบบการค้นหาเอกสาร
          - ระบบการใช้เอกสาร
          - ระบบการจัดเก็บเอกสาร
          - ระบบทางเดินเอกสาร
          - ระบบจัดทำเอกสาร
          - ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)






           
               


          
   

       
         

         
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น